คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนในสาขาวิชานวัตกรรมอาหารและการเป็นผู้ประกอบการ และ สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสาขาที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม สำหรับ
สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและการเป็นผู้ประกอบการ ปรัชญาการศึกษาของหลักสูตร คือ “จัดการศึกษาในรูปแบบบูรณาการเรียนกับการทำงานเชิงผลลัพธ์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอาหาร และมีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการอาหารในระดับอุตสาหกรรม” ข้อมูลเพิ่มเติม www.facebook.com/science.siamu
สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและคอมพิวเตอร์ มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและคอมพิวเตอร์ ให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพด้านวิทยาการข้อมูลและคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความคิดริเริ่มและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ และนำความรู้ความสามารถไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศ โดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากสถานประกอบการ และผู้ใช้บัณฑิต ข้อมูลเพิ่มเติม www.facebook.com/comscisiamu
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) – Bachelor of Science (B.Sc.)
- สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและการเป็นผู้ประกอบการ (Food Innovation and Entrepreneurship)
- สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและคอมพิวเตอร์ (Computer and Data Science)
คุณสมบัติผู้สมัคร
- จบ ม.6 ทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า (กศน.)
- ปวช. ทุกสาขา
- ปวส. ทุกสาขา (เทียบโอนหน่วยกิต)
- นักศึกษาเทียบโอนจากสถาบันอุดมศึกษา หรือปริญญาตรีใบที่ 2
โอกาสในการประกอบอาชีพ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร (Food Industry Technology)
- ผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางหรือขนาดย่อม (SMEs) ทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และผลพลอยได้ (by product) ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ตลอดห่วง
โซ่อุปทานอาหาร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ - พนักงานในสถานประกอบการธุรกิจอาหาร ได้แก่
– หัวหน้าแผนกในโรงงานผลิตอาหาร
– ผู้จัดการซูเปอร์มาร์เก็ต แผนกอาหารสด
– ผู้จัดการ รองผู้จัดการธุรกิจร้านอาหาร
- สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและคอมพิวเตอร์ (Computer and Data Science)
-
- นักวิทยาการข้อมูล
- นักวิเคราะห์ข้อมูล
- นักพัฒนาระบบและซอฟต์แวร์ หรือนักเขียนโปรแกรม
- นักพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันและเว็บไซต์
- นักพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน
- นักออกแบบซอฟต์แวร์โดยยึดหลัก UX/UI ได้
- เจ้าหน้าทางเทคนิคความปลอดภัยทางไซเบอร์
- นักวิเคราะห์ความปลอดภัยทางไซเบอร์
- ผู้ตรวจสอบด้านไอที (IT Auditor)
- ผู้ทดสอบโปรแกรม