Back

คณะแพทยศาสตร์

6

คณะแพทยศาสตร์ มุ่งผลิตบัณฑิตแพทย์ ให้เป็นผู้มีปัญญา มีความรู้ มีทักษะและเจตคติที่ดีต่อการให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟู สุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ สามารถเรียนรู้และพัฒนาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องบนความหลากหลายทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และความเชื่อต่างๆ โดยคำนึงถึงหลักคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามแห่งวิชาชีพ อันจะนำไปสู่ ความสำเร็จในการครองตน ครองคนและครองงาน

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) – Doctor of Medicine (M.D.)

หลักสูตร 6 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ที่เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติ ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการพูด เขียน และอ่านภาษาไทยได้เป็นอย่างดี มีผลการศึกษา Grade 12 IGCSE/GCSE 5 วิชา

 https://med.siam.edu/

ประกาศการรับสมัครนักศึกษาปีการศึกษา 2568 

ประกาศการรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2568 แบบรับตรง รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ว.บ.) –  B.Sc. (Occupational Health and Safety)

เรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และวิชาเฉพาะสาขาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เช่น การประเมินและการจัดการความเสี่ยง สุขศาสตร์อุตสาหกรรมพื้นฐาน อาชีวเวชศาสตร์ การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างในงานสุขศาสตร์อุตสาหกรรม การยศาสตร์และสรีรวิทยาในการทำงาน หลักวิศวกรรมสำหรับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในงานก่อสร้าง การจัดการอัคคีภัยและเหตุฉุกเฉินจากสารเคมี สหกิจศึกษาสำหรับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นต้น

โอกาสในการประกอบอาชีพ

  1. รัฐภาครัฐส่วนกลาง เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น
  2. ภาครัฐส่วนท้องถิ่น เช่น กรุงเทพมหานคร เทศบาล อบต. โรงพยาบาลของรัฐ
  3. ภาครัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การท่าเรือ ท่าอากาศยานไทย เป็นต้น
  4. ภาคเอกชน เช่น บริษัทขนส่ง บริษัทก่อสร้าง เหมืองแร่ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานผลิตและแปรรูปอาหาร บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทั้งในและต่างประเทศ บริษัทจำหน่ายเครื่องมืออุปกรณ์ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น โดยทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ (จป.วิชาชีพ)

 http://www.ph.siam.edu/